การเขียนเว็ปไซต์ด้วยตนเอง
มีเทคนิคที่กว้าขวางมากมายแล้วแต่ความถนัดของคนเขียนเว็ป และโดยหลักการแล้วก็ต้องใช้ภาษาในการเขียนโค้ดโปรแกรมมิ่ง ซึ่งแล้วแต่ว่าจะเขียนโดยใช้ภาษาอะไร ซึ่งในปัจจุบันมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นภาษา C+, ภาษา PHP รวมไปถึง ส่วนประกอบอื่นๆเช่น HTML, Javascript, CSS, SCSS ต่างๆเป็นต้น
การเขียนเว็ปไซต์ด้วยภาษา PHP มีอะไรที่น่าสนใจมากมาย ภาษา PHP สามารถเขียนได้หลากหลายกว้างขวางและที่สำคัญ เน้นเขียนได้ใน Back End หรือหลังบ้าน จะทำงานได้เป็นอย่างดี การเขียนเว็ปไซต์ด้วยภาษา PHP มีทริคที่น่าสนใจอยู่หลายข้อที่ควรจะต้องจดจำดังนี้
การเริ่มต้นเขียนต้องเปิดด้วย Tag <?php ทุกครั้ง มิฉะนั้นภาษาจะไม่ทำงาน และตอนจบของโค้ด ต้องปิดด้วย ?> เสมอๆ
การแสดงผลลัพธ์ของข้อมูลให้ออกมา ต้องใช้คำสั่ง echo ตามด้วยชื่อตัวแปร หรือ ตัวข้อมูลที่อยากนำเสนอทุกครั้งและปิดด้วย ” ; “
อีกหนึ่งอย่างที่ต้องรู้จักคือ $ เป็นเครื่องหมายที่ทำให้รู้ว่าเป็น ตัวแปรที่ใช้ในการเขียนโค้ดเพื่อแทนค่าต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น $value=0; ก็จะเป็นการประกาศให้รู้ว่า ตัวแปรที่ชื่อ $value มีค่าเท่ากับ 0 นั่นเอง หลังจากนั้นเราเอาไปต่อยอดต่อได้เช่น
<?php
$value=10; // ตัวแปร value มีค่าเท่ากับ 10
$result= $value*$value; // ตัวแปร result มีค่าเท่ากับ ตัวแปร value คูณ ตัวแปร value
echo $result; // แสดงผลลัพธ์
?>
เมื่อเราเขียนตามชุดบรรทัดนี้ไป ผลลัพธ์ที่ออกมาแสดงที่หน้าเว็ปที่ถูกต้องก็คือ 100 นั่นเอง (มาจาก 10×10)
อีกทริคคือ การที่เราเขียนโค้ดยาวๆ หรือตัวแปรมากๆจนอาจจะเกิดปัญหาจำไม่ได้ว่าโค้ดดังกล่าวนั้นเกี่ยวกับเรื่องอะไร หรือส่วนใดของหน้าเว็ป เราสามารถใส่โค้ดคอมเม้นเอาไว้ได้
ซึ่งจะเป็นเหมือน short note ช่วยเตือนความจำของเรา และมีข้อดีคือมันจะไม่แสดงผลที่หน้าเว็ปให้ front-end ให้ user คนอื่นๆ ที่มาดูเว็ปเรามองเห็นจนเป็นที่น่าเกลียด เจ๋งไหมล่ะ วิธีการก็คือ ใน tag PHP พื้นฐานนั้น <?php ให้ใส่เครื่องหมาย // สำหรับคอมเม้นที่เป็นบรรทัดเดียว หรือใส่ เริ่มต้นด้วย /* ถ้าเป็นคอมเม้นหลายบรรทัด และปิดท้ายด้วย */